วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การสัมภาษณ์


การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายถาม(ผู้สื่อข่าว) ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายตอบ(แหล่งข่าว)



ความสำคัญของการสัมภาษณ์ 

       1.ช่วยให้การรายงานข่าวมีชีวิตชีวา
       2.ช่วยสร้างความเชื่อถือของข่าวนั้น
       3.สร้างความบันเทิงแก่ผู้อ่าน

ชนิดของการสัมภาษณ์ 

ชนิดของการสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 3 ชนิด
       
       1.การสัมภาษณ์ข่าวเหตุการณ์ เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมารายงานให้เร็วที่สุด
       2.การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เป็นลักษณะของการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า และอาจจะไม่ได้พบหน้ากัน หรือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกันและมีการพูดคุยกันไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้สื่อข่าวมักจะมีความคั้นเคยกับแหล่งข่าว
       3.การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่มีการนัดหมายล่วงหน้า ผู้สัมภาษณ์ต้องไปสัมภาษณ์ด้วยตนเอง เรื่องที่สัมภาษณ์มักมีความสำคัญและเป็นที่สนใจพอสมควร

รูปแบบการสัมภาษณ์


                รูปแบบการสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น  ๒  แบบคือ

๑.  การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ   เป็นการสัมภาษณ์ความคิดเห็นทั่วๆไป  เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ  การสัมภาษณ์แบบนี้ไม่ต้องเตรียมการมากนัก  เพียงแต่เตรียมจุดประสงค์ของการสัมภาษณ์และคำถามไว้ล่วงหน้าเท่านั้น

                ๒.  การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ   การสัมภาษณ์แบบนี้มีหลักเกณฑ์มากกว่าแบบแรก

คือ  ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมสถานที่  นัดวัน  เวลา  ไปพบ  หรือเชิญผู้ให้สัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า

คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์


๑.      จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม  และเข้าใจจุดประสงค์ว่าต้องการทราบข้อมูลอะไรจากผู้ให้

สัมภาษณ์

๒.    มีมนุษยสัมพันธ์  ปรับตัวให้เข้ากับทุกคนได้ในระยะเวลาอันสั้น

๓.     มีไหวพริบที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้  และรู้จักหลักจิตวิทยา

๔.     รู้จักมารยาทในการพูดและการฟัง   ไม่ควรซักถาม  หรือเคี่ยวเข็ญผู้ให้สัมภาษณ์ให้

ตอบคำถามในกรณีที่ไม่เต็มใจตอบ  และต้องเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด

๕.     ต้องเป็นคนมีบุคลิกดี  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับกาลเทศะ

๖.      ผู้สัมภาษณ์จะต้องเป็นคนที่ตรงต่อเวลา

คำถามในการสัมภาษณ์


            คำถาม   คือ  หัวใจของการสัมภาษณ์  การสัมภาษณ์จะประสบผลสำเร็จหรือไม่  ขึ้นอยู่กับ

ประสิทธิภาพในการตั้งคำถาม  ผู้สัมภาษณ์จึงควรศึกษาลักษณะของคำถามที่ควรใช้สำหรับการสัมภาษณ์

                คำถามเปิด  คือ  คำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ซึ่ง

เหมาะสำหรับการสัมภาษณ์โดยทั่วๆไป

                คำถามปิด   คือ  คำถามที่ผู้ถามต้องการคำตอบเพียงจุดใดจุดหนึ่ง  หรือต้องการคำตอบสั้นๆ

โดยไม่ต้องการคำอธิบาย  วัตถุประสงค์หลักของการเลือกใช้คำถามปิด  คือ  เพื่อให้สามารถสัมภาษณ์

คนจำนวนมากได้โดยไม่ใช้เวลามากนัก และเกิดความคงที่ในการถามคำถามหนึ่งๆ กับคนจำนวนมากลักษณะคำถามปิดจะให้เลือกคำตอบว่าใช่หรือไม่          หรือกำหนดประเด็นที่ต้องการให้ตอบเพียงเรื่องเดียว  หรือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ประเภทของการสัมภาษณ์


       1.สัมภาษณ์เพื่อหาข้อเท็จจริง(Interview of Fact) ในสังคมที่มีปัญหาต่างๆ  มีผลให้เกิดอุบัติการณ์มากมายจนผู้สื่อข่าวไม่สามารถรายงานเหตุการณ์ให้ผู้อ่านได้รับทราบอย่างทันท่วงที จึงต้องสอบถามจากผู้เห็นเหตุการณ์หรือมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อนำข้อเท็จจริงมาเสนอให้ผู้อ่านได้พิจารณา
       2.การสัมภาษณ์เพื่อหาความคิดเห็น (Interview of opinions) ใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาสาธารณะที่ประชาชนต้องตัดสินใจแสดงประชามติต่อปัญหานั้น หนังสือพิมพ์จำเป็นต้องตัดสินใจแสดงประชามติต่อปัญหานั้น หนังสือพิมพ์จึงจำเป็นต้องตัดสินใจแสดงประชามติต่อปัญหานั้น โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ รวมทั้งผู้ที่มีความคิดเห็นในลักษณะสนับสนุนและคัดค้านนำมาเสนอต่อผู้อ่าน
       3.การสัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่บุคลิกภาพ (Interview of personality) เป็นการสัมภาษณ์บุคคลทั้งที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว และบุคคลที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน โดยผู้สื่อข่าวคาดว่าบุคคลนั้นจะเป็นที่สนใจของผู้อ่าน และผู้อ่านสามารถจะนำทัศนะของบุคคลนั้นๆมาปรับใช้กับชีวิตความเป็นอยู่ของตนได้

การสัมภาษณ์เพื่อการศึกษา


                ก่อนการสัมภาษณ์

                ควรเตรียมคำถามให้สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา  จัดลำดับคำถามให้เหมาะสมและ

สะดวกแก่ผู้ตอบ  โดยพิจารณาว่าผู้ที่จะสัมภาษณ์นั้นเป็นคนกลุ่มใด  วัยใด  อาชีพใด  จะช่วยในการเลือกคำถามที่เหมาะสมกับความรู้  และประสบการณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์มากขึ้น

ระหว่างการสัมภาษณ์

            แนะนำตนเองและเรื่องที่ต้องการข้อมูล  เพื่อพยายามโน้มน้าวใจผู้ให้สัมภาษณ์สนใจที่จะให้ความร่วมมือ

                ดำเนินการสัมภาษณ์ตามคำถามที่เตรียมไว้ผู้สัมภาษณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ  นอกเหนือจากเรื่องที่จะสัมภาษณ์  และไม่ควรพูดนอกเรื่อง

                พยายามเป็นผู้ฟังที่ดี  และสนใจปฏิกิริยาตอบสนองต่างๆ  ของผู้ให้สัมภาษณ์ จะช่วยให้ผู้ให้สัมภาษณ์เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการสัมภาษณ์  และเต็มใจให้ข้อมูล

                บันทึกคำตอบที่ได้รับและรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ  เช่น  การแสดงสีหน้า  หรือนำเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์  สภาพแวดล้อมของการสัมภาษณ์

                เมื่อจบการสัมภาษณ์จะต้องขอบคุณในความร่วมมือ  และการเสียสละเวลาของผู้ให้สัมภาษณ์

เทคนิคการสัมภาษณ์


       -  การเตรียมตัวเพื่อการสัมภาษณ์
               1. ศึกษาภูมิหลังแหล่งข่าว
               2. ควรเตรียมตั้งคำถามไว้ 1 ชุดเพื่อเป็นกรอบ
               3. ตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ
               4. ควรตรงต่อเวลาหรือไปก่อน

       -  การดำเนินการสัมภาษณ์
               1.ควรเริ่มต้นด้วยคำถามพื้นๆ
               2. ผู้สื่อข่าวควรตั้งคำถามล่วงหน้าและควรตั้งใจฟัง
               3. ไม่ควรรีบลาผู้ให้สัมภาษณ์จนกว่าจะได้ข้อมูลพื้นฐาน และข่าวสารกระจ่างชัด
               4. ผู้สื่อข่าวอาจจะถามเรื่องที่ทำให้แหล่งข่าวรู้สึกกระอักกระอ่วนใจแต่ก็เพื่อข้อมูลที่จะได้รับ
               5. ระหว่างการสัมภาษณ์ไม่ควรก้มหน้าก้มตาจดบันทึกเพียงอย่างเดียว

       -  ข้อควรระวังในการสัมภาษณ์
               1. รูปลักษณ์ภายนอกต้องเหมาะสม
               2. จดบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสัมภาษณ์
               3. ถ้าใช้เครื่องบันทึกเสียงต้องขออนุญาตก่อน
               4. อย่าสัญญาใดๆกับผู้ถูกสัมภาษณ์
               5. วิธีการสัมภาษณ์จะไม่สามารถใช้ได้กับคนทุกคน




ที่มา http://elearning.nsru.ac.th/2550/report_beginning/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.html

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=1573

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น